17/5/54

เศรษฐกิจประเทศน่ารู้


เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ
    จากการที่ปัจจุบันเศรษฐกิจของไทยในตอนนี้มีการขึ้นลงอยู่บ่อยๆมาดูกันดีกว่าประเทศอื่นๆในโลกนี้มีเศรษฐกิจเป็นอย่างไรกันบ้างจะเหมือนกับประเทศไทยของเรารึเปล่ามาดูกันเลย           
          

          

                 เศรษฐกิจการค้า ประเทศสหรัฐอเมริกา

            ประเทศสหรัฐอเมริกามีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินธุรกิจโดยที่รัฐจะเข้าแทรกแซงใน กิจการของเอกชนน้อย และสนับสนุนให้มีการแข่งขันกันอย่างเสรีทั้งภายในและภายนอกประเทศ
            อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ: ร้อยละ 1.1 (2551)
            อัตราการว่างงาน: ร้อยละ 8.1 (กุมภาพันธ์ 2552)
            อุตสาหกรรม : สหรัฐฯ เป็นผู้นำทางภาคอุตสาหกรรมของโลก มีความหลากหลายสูงและมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาก เช่น ปิโตรเลียม เครื่องยนต์เครื่องบิน อุปกรณ์การสื่อสาร เคมีภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ การแปรรูปอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ป่าไม้ เหมืองแร่
            สินค้าส่งออก : สินค้าทุน (ยกเว้นรถยนต์) ,สินค้าอุตสาหกรรม ,สินค้าอุปโภคบริโภค ,รถยนต์ ,อาหารและเครื่องดื่ม
            ประเทศคู่ค้าในการส่งออก : แคนาดาร้อยละ 20 เม็กซิโกร้อยละ 11.7 จีนร้อยละ 5.5 ญี่ปุ่นร้อยละ 5.1 เยอรมนีร้อยละ 4.2
            สินค้านำเข้า : อุปกรณ์ในการอุตสาหกรรม(น้ำมันดิบร้อยละ 16), สินค้าอุตสาหกรรม, สินค้าอุปโภคบริโภค
           ประเทศคู่ค้าในการนำเข้า :แคนาดาร้อยละ 16 จีนร้อยละ 16 เม็กซิโกร้อยละ 10.3 ญี่ปุ่นร้อยละ 6.6 เยอรมนีร้อยละ 4.6
                         

                              เศรษฐกิจประเทศออสเตรเลีย
          เศรษฐกิจของประเทศใหญ่เป็นอันดับที่ 14 ของโลกแม้ว่าในปัจจุบันจะมีข่าวว่า ออสเตรเลียประสบปัญหาขาดดุลการค้า เป็นมูลค่ามหาศาล นอกจากนี้ยังปรากฏว่า ออสเตรเลียมีหนี้สินต่างประเทศแต่ก็ถือได้ว่า ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจดี และโชคดี เนื่องจากในปัจจุบันออสเตรเลียกำลังเร่งการผลิตในด้านเหมืองแร่ และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการส่งออกอย่างขนาดใหญ่
ออสเตรเลียในปัจจุบัน กำลังประสบปัญหาหนักในด้านการผลิตเหมืองแร่และทรัพยากรธรรมชาติ โดยผลิตได้ไม่รวดเร็ว และทันต่อความต้องการของประเทศผู้ซื้อ  การขนส่งถ่านหินและแร่ธาตุต่างๆ เพื่อการส่งออก ซึ่งโดยปกติกระทำโดยทางเรือก็ประสบความล่าช้าจากสิ่งอำนวยความสะดวกของการท่าเรือ ที่ไม่เพียงพอต่อการขยายตัวด้านการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
           ความโชคดีของออสเตรเลียในด้านการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งคาดว่าจะทำรายได้เข้าประเทศอย่างมากจะเป็นจริงเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของออสเตรเลียในการปรับตัว และการบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

  
                        เศรษฐกิจประเทศประเทศญี่ปุ่น
         ญี่ปุ่นมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา เมื่อวัดด้วยจีดีพีก่อนปรับอัตราเงินเฟ้อและอันดับที่ 3 รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อวัดด้วยอำนาจการซื้อญี่ปุ่นมีกำลังการผลิตที่สูงและเป็นประเทศต้นกำเนิดของผู้ผลิตชั้นนำที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เหล็กกล้า โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เรือ สารเคมี
           หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้รับความบอบช้ำจากสงครามเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเพราะปัจจัยหลายอย่างเช่นการแทรกแซงของรัฐบาล แรงงานที่ถูกและมีคุณภาพ อัตราการออมและการลงทุนที่สูง ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2500-2520เป็นช่วงที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงในช่วงพุทธทศวรรษที่ 2500, 2510 และ 2520
           แต่ช่วงต้นพุทธทศวรรษที่ 2510 ญี่ปุ่นประสบปัญหาค่าเงินเยนแข็งตัวจนทำให้บริษัทจำนวนมากย้ายฐานการผลิตออกไปนอกประเทศ หลังจากเกิดฟองสบู่แตกต้นพุทธทศวรรษที่ 2530 เศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว และส่งผลต่อเนื่องตลอดพุทธทศวรรษที่ 2530
 
                             เศรษฐกิจการค้าของประเทศอิตาลี
          
ปัจจุบันอิตาลีเปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาเกษตรกรรมเป็นสำคัญ มาเป็นแบบมีอุตสาหกรรมเป็นพื้นฐาน และมีขนาดใหญ่เป็นลำดับต้นๆ ของโลก
โดยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรสูงไล่เลี่ยกับอังกฤษและฝรั่งเศสอิตาลีมีจุดแข็งในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
           อุตสาหกรรม ที่สำคัญมี รถยนต์ เครื่องจักรกล การก่อสร้าง เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเรือน อุตสาหกรรมทอผ้า เสื้อผ้าและแฟชั่น และการท่องเที่ยว
แม้ระบบเศรษฐกิจของอิตาลีเป็นระบบทุนนิยม ภาคเอกชนสามารถดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเสรี แต่รัฐบาลยังคงเข้ามามีบทบาทควบคุมกิจกรรมที่สำคัญ
           อย่างไรก็ตาม อิตาลียังมีปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การขาดดุลงบประมาณในระดับสูง การว่างงาน การขาดแคลนทรัพยากรพลังงานในประเทศ และระดับการพัฒนาที่แตกต่าง กันอย่างมากระหว่างอิตาลีตอนเหนือ กับอิตาลีตอนกลางและตอนล่าง รวมทั้งเกาะ Sicily และ Sardinia ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรม
 
                            เศรษฐกิจประเทศนิวซีแลนด์
            นิวซีแลนด์ เป็นประเทศหนึ่งในเขตแปซิฟิกที่มีการทำอุตสาหกรรม เช่น การต่อเรือ โรงงานเบียร์ไวท์ โรงงานปลากระป๋อง แต่ส่วนใหญ่การอุตสาหกรรมในนิวซีแลนด์มีน้อยมาก และ มีการทำอุตสาหกรรมการเกษตร เช่นการทำผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมการขุดแร่ เช่น ถ่านหิน เหล็ก อุตสาหกรรมป่าไม้ และ ยังมีการเพาะปลูกที่ทำให้นิวซีแลนด์มีรายได้มากส่วนหนึ่ง เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และ ผลไม้เช่น สตรอเบอรี่ และแอปเปิล เป็นต้น
          ด้านเศรษฐกิจ (2548)
1.อุตสาหกรรมหลัก : การแปรรูปอาหาร ไม้ สิ่งทอ เครื่องจักร กระดาษ ปุ๋ย ซีเมนต์ แผ่นเหล็ก อลูมิเนียม
2.เกษตรกรรมหลัก : เนื้อสัตว์ (วัว แกะ ปลา) ผลิตภัณฑ์นม ขนแกะ ผักและผลไม้
3.ปริมาณการค้า ในปี 2548 นิวซีแลนด์มีปริมาณการค้ารวม 46.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งออก 21.9 พันล้านดอลลาร์ นำเข้า 24.7 ล้านดอลลาร์ เป็นผลให้นิวซีแลนด์ขาดดุลการค้า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
4.ประเทศคู่ค้าสำคัญ ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และจีน (ตามลำดับ)
5.สินค้าเข้า รถยนต์ เครื่องจักรกล เชื้อเพลิง เครื่องใช้ไฟฟ้า และพลาสติก
6.สินค้าออก ผลิตภัณฑ์นมเนย เนื้อสัตว์ (วัว แกะ ปลา) ไม้ เครื่องจักร
7.อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทำรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับแรก มีอัตราการเจริญเติบโตร้อยละ 3.9

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น