15/5/54

ฉันอยากจะเป็น...


อยากเป็นอะไร...........
ตอนเด็กๆคุณเคยคิดรึเปล่าว่าโตขึ้นคุณคิดจะเป็นอะไร ทำอะไร เรียนอะไร ตอนแรกๆฉันก็ไม่ได้คิดหรอกแต่พออยู่ไปเรื่อยๆไม่ได้คิดอะไรมากมายสอบได้ไรก็เรียนๆไปแต่พออยู่ไปนานๆก็เริ่มคิดขึ้นได้ว่าถ้าเรายังอยู่แบบนี้อีกแบบอยู่ไปวันๆไม่คิดอะไรคงจะไม่ดีแล้วแน่เพราะไม่รู้ว่าตัวเองมีจุดมุ่งหมายที่จะทำอะไรการที่ทำไรคงจะไม่สำเร็จแน่ถ้าอยู่แบบนี้ตั้งแต่วันนั้นมาฉันก็เริ่มหาตัวเองมาตลอดแต่ก็ยังคิดไม่ค่อยออก ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะเป็นอะไรดีแต่พออยู่มาวันหนึ่งคุณครูได้หมอบหมายให้นักเรียนทุกคนค้นหาตัวเองให้เจอฉันก็ได้กลับไปหาตัวเองแล้วก็ได้พบกับคณะเภสัชศาสตร์ถึงกับตะลึงนี่ไงฉันอยู่นี่เอง(เย้ๆ)เจอแล้วด้วยความที่ตัวเองชอบเกี่ยวกับด้านนี่อยู่แล้วบวกกับมีญาติจบเภสัชศาสตร์ แล้วทำงานกับบริษัทยาชื่อดังตัวก็เลยชอบอยากเป็นแบบญาติคนนั้นบ้าง พอได้มาค้นหาตัวเองตามที่ครูมอบหมายก็ทำให้แน่ใจมากขึ้นว่าตัวเองชอบด้านนี้
ปรัชญาของผู้ที่เรียนเภสัชศาสตร์
มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีสมรรถนะทางวิชาชีพ ตามเกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ. 2545 มีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ
วัตถุประสงค์ทั่วไปของผู้ที่เรียนเภสัชศาสตร์
1.          มีความรู้และเข้าใจ ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ ตลอดจนตระหนักถึงบทบาทของเภสัชกรที่ต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานั้น ๆ และร่วมไปกับบุคลากรสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง
2.          มีความรอบรู้ในศิลปวิทยาต่างๆ สมกับเป็นเภสัชกรที่ดี ที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรม ยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีมนุษย์สัมพันธ์อันดี รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อหน่วยงาน สังคมและประเทศชาติ และสามารถประยุกต์ความรู้ ทั้งในด้านวิชาชีพและนอกวิชาชีพ เพื่อบริการประชาชนด้านสุขภาพอนามัยอย่างมีประสิทธิภาพ เปี่ยมประสิทธิผล
3.          มีความเข้าใจว่า "วิชาชีพเภสัชกรรม" เป็นวิชาชีพที่ต้องเรียนรู้ใฝ่ศึกษาติดต่อกันไปตลอดชีวิตเยี่ยงวิชาชีพอื่นๆ และมีความสามารถพอที่จะศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองต่อไปได้
4.          มีความสามารถวิเคราะห์ และปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เมื่อร่วมทำงานกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ร่วมงาน
5.          มีความตระหนักรู้ซึ้งถึงความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพ ทั้งของตนเอง ของวิทยาการ และของวิชาชีพ ให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมที่รองรับและกำหนดไว้ตามพันธกิจและภารกิจ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ที่กำหนดไว้เป็นหลักฐานแห่งบุคลากรในสายวิชาชีพ และในการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งในระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ หรือในระดับที่สูงขึ้นไปอีกตามทิศทางและแนวโน้มการพัฒนาที่จักดำเนินต่อไป
6.          มีทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน

นี่คือตัวอย่างเภสัชกรชื่อดัง
 
 
             รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกรหญิงอรพรรณ มาตังคสมบัติ สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต (เหรียญทอง) จากมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ ๒๕๐๖ และปรัชญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒
 
 
             ดร.กฤษณา ไกรสินธุ์ เภสัชกรหญิง ผู้ปิดทองหลังพระ ผู้ผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ที่เร่ร่อนไปทั่วแอฟริกา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น